การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน

ทุกบริษัทแน่นอนว่าต้องมีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนหรือบริษัทของรัฐ ย่อมมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น เราจะสรุปความเสี่ยงทางการเงินแบบง่ายๆ ให้ทุคนเข้าใจกัน

ข้อมูลเนื้อหาในหัวข้อนี้

ความเสี่ยงทางการเงิน

ความเสี่ยงก็คือความไม่แน่นอนใดๆ เลย ที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตข้างหน้า ประเภทของความเสี่ยงทางการเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

ความเสี่ยงด้านตลาด : ราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของราคามีอยู่ตลอด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก การผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน ราคาสินค้าอุปโภคบริโคทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานในการลงทุน 

ความเสี่ยงด้านเครดิต : ความเสี่ยงที่เราจะสูญเสียเครดิต เนื่องมาจากเราผิดสัญญากับอีกฝั่ง เช่น การผิดนัดชำระหนี้ การผิดนัดการแลกเปลี่ยนสินค้า การได้ผลตอบแทนไม่ครบที่ทำสัญญาไว้ ซึ่งหากเราอยากลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ก็สามารถทำได้โดยการลงทุนผ่านตลาดที่มีตัวกลาง เช่น ตลาดหุ้น

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติ : ความนี้จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะป็นผลอันเนื่องมาจากการทำงานที่ผิดพลาดหรือการปฏิบัติงานผิดพลาดที่มาจากบุคคลหรือองค์กร หรือปัจจัยภายนอก เช่น การทำสัญญาการเงินที่ผิดพลาด การทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจขององค์กร การติดตามนโยบายของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ในทางการเงินนั้นเราเรียกโชคร้ายที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับเราว่า ความเสี่ยงทางการเงิน ซึ่งความเสี่ยงที่ว่าจะส่งผลกระทบทางตรงต่อ “ความมั่งคั่ง” และ “สภาพคล่อง” ขององค์กรของเราทันที่

ความเสี่ยงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

ความเสี่ยงส่วนบุคคล : ความเสี่ยงอันเกิดจากการจเสียชีวิตของวัยอันควร มีรายได้ไม่พอใช้ในยามเกษียณ การเกิดอุบัติเหตุส่งผลให้เป็นบุคคลทุพลภาพ ความเสี่ยงจากการว่างงาน

ความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน : ถูกโจรกรรม ถูกขู่กรรโชกทรัพย์ บ้านไฟไหม้ ถูกรถชน เกิดอุบัติเหตุ

ความเสี่ยงต่อการรับผิด : เป็นความเสี่ยงที่เกิดจาการเกี่ยวข้องกับการรับผิด การกระทำที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ภายใต้กรอบของกฎหมาย เช่น การทำงานที่ต้องมีเรื่องฟ้องร้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

ความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดของบุคคลอื่น : การค้ำประกันเงินกู้ให้ผู้อื่น ความเสี่ยงจากการว่าจ้างผู้อื่นทำงาน

ปัจจัยความเสี่ยงทางการเงิน

ความเสี่ยงทางการเงินเกิดขึ้นได้จากสถานนะของกิจการ ผลกระทบจากราคาตลาด ได้แก่ อัตราดอกเบี่ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาของโภคภัณฑ์ที่เป็นหลักสำคัญ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นจากการกระทำกิจการอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวของกับหน่วยงานอื่น เช่น คู่ค้าในธุรกรรมด้สนอนุพันธ์ทางการเงิน หรือบางครั้งความเสี่ยงทางการเงิน ก็มาจากความล้มเหลวของการบริหารจัดกรองค์กร โดยอาจจะเกิดจากบุคลากร กระบวนการทำงานหรือแม้กระทั่งระบบบริหารงาน 

การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน

กำหนดวัตถุประสงค์ : ผู้บริการองค์กรต้องวางแผนปฏิบัติงาน หรือเป้าหมายขององค์กร และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อการดำเนินงานที่เป็นไปตามกระบวนการ และหากมีข้อผิดพลาดเราจะมองความเสี่ยง หรือประเมินความเสี่ยงได้ องค์กรจะมีการรับมือและได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน อาจทำให้ควาเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

สำรวจความเสี่ยง : จะต้องมีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้บุคลากรแบบชัดเจน การสำรวจความเสี่ยงอยู่เสมอ ทำให้เห็นถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารแบบชัดเจนและเป็นรูปร่าง

การระบุความเสี่ยง : การระบุความเสี่ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะความเสี่ยงมีหลากหลาย โดยเราจะต้องแบ่งระดับความสำคัญของความเสี่ยง และพิจารณาข้อมูลที่มีเบื้องต้น จะทำให้เราระบุความเสี่ยงได้ชัดเจนมากขึ้น

วิเคราะห์ความเสี่ยง : การวิเคราะห์ความเสี่ยงมีความเชื่อมโยงกับการระบุความเสี่ยงและประเมินความเสี่ยง ละเทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงก็มีอยู่หลากหลาย การวิเคราะห์ก็จะแตกต่างกันออกไปแต่ประเภทความเสี่ยง

จัดลำดับความเสี่ยง : ในขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง และเป็นการปะเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่สำคัญและซับซ้อน เพราะขั้นตอนนี้จะเป็นการค้นหาและระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และนำผลลัพธ์การประเมินมาจัดลำดับ เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงและการรับมือ 

ความเสี่ยงทางการเงินเรามักจะเจอได้ในชีวิตประจำวันทุกวัน จึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะมันจะส่งผลตรงกับสภาพคล่องของเราทันที การบริหารจัดการความเสี่ยงจึงมีความจำเป็นอย่างมาก