10 ความเสี่ยงทางเงิน ที่คุณไม่ควรมองข้าม

หากพูดถึงความเสี่ยงทุกคนจะมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และอื่นๆที่มีความเสี่ยงอีกมากมาย แต่ในวันนี้ที่จะพูดถึงก็จะเป็นความเสี่ยงทางการเงิน เพราะก้าวขาออกจากบ้านสิ่งแรกที่ต้องใช้ก็คือ เงิน และในยุคปัจจุบันที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ บางคนเงินเก็บเหลือน้อย บางคนตกงาน การใช้เงินที่มีอยู่ให้มีคุณค่าที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ และสำหรับคนที่ยังมีงานอยู่ ก็ไม่ควรที่จะไว้วางใจสถานะการเงินได้ และควรจะระมัดระวังไว้ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตเราได้ เราไป 10 ปัจจัยความเสี่ยงทางการเงินกัน

ข้อมูลเนื้อหาในหัวข้อนี้

ความมั่นคงของรายได้

หากว่าเราถูกเลิกจ้าง ออกไปขายของไม่ได้ในช่วงโควิด-19 ความมั่นคงของรายได้ก็เป็นสาเหตุและปัจจัยความสำคัญเลยทีเดียว เพราะคนบางส่วนก็ยังจะต้องมีภาระหนี้สิน บ้าน รถ และหนี้อื่นๆอีกมากมาย หากมีรายได้ที่ไม่มั่นคงก็จะส่งผลกระทบ ในการจำกัดวงเงินและประมาณเงินไว้ใช้จ่ายอย่างแน่นอน การป้องกันเราควรจะพยายามหารายได้หลายๆทาง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหาอาชีพอื่นสำรองเสมอ ต่อให้งานคุณจะมั่นคงขนาดไหน รายได้จากหลายๆทางจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า หากขาดรายได้หลักคุณจะมีรายได้สำรองที่ซัพพอร์ตคุณได้อย่างแน่นอน

ภาระหนี้สิน

จากข้อที่แล้วภาระหนี้สินก็เป้นส่วนหนึ่งของความมั่นคงของรายได้ และเราจะมาขยายความต่อ ภาะหนี้สินหรือภาระทางการเงินที่คุณแบกรับอยู่ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งการไปค้ำประกันให้ใครก็ตาม นั้นก็คือคุณมีภาระเพิ่มขึ้นมาแล้ว เพราะถ้าหากเขาไม่ชำระหนี้ตามสัญญาคุณมีความเดือดร้อนอย่างแน่นอน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือหากวันไหนคุณเกิดเสียชีวิต หรือทุพลภาพ ภาระก็ตกตรงไปหาคนใดสักคนอย่างแน่นอน คุณควรจะรองรับและจัดการความเสี่ยงตรงนี้ด้วยการจัดการทรัพย์สิน ให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ และสามารถใช้ชำระหนี้ได้ในระยะยาว และสุดท้ายควรทำประกันชีวิตไว้ 

ความเสี่ยงด้านสุขภาพ

อุบัติเหตุไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย รถล้ม รถชน ที่จะทำให้เราสูญเสียทรัพย์และยังต้องหยุดงานเพื่อรักษาร่างกายอีกด้วย ทางป้องกันในกรณีนี้คือ ต้องหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ ในการขับรถก็ระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎของจราจรอยู่เสมอ อีกหนึ่งทางคือการทำประกันชีวิต เพราะหากนอนโรงบาลประกันชีวิตบางแผนการรักษา กฌครอบคลุมไปถึงการจ่ายเงินที่คุณต้องหยุดงานอีกด้วย

ความเสี่ยงของการลงทุน

การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ความผันผวนนการลงทุนไม่ว่าจะเป็น การลงทุนหุ้น กองทุนรวม ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็มีโอกาสสูงที่ผู้เช่าจะจะเบี้ยวสัญญาไม่ยอมจ่าย ขายไม่ออก ไม่มีผู้เช่า หรือหากมีการทำธุกิจก็มีโอกาสที่จะเจ๊งหรือไปต่อไม่รอด หรือการมีคู่แข่งรายใหม่ก็เป็นความเสี่ยงของการลงทุนเช่นกัน การลงทุนก็ควรจะมีแผนการเสมอ เพราะจะไดมีวิธีการรับมือและให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

ความเสี่ยงทางทรัพย์สิน

แน่นอนว่าเราต้องมีทรัพย์เป็นของตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ ทอง เพชร โทรศัพท์มือถือ นาฬิกาหรู และมันสามารถเกิดความเสียหายได้เสมอ เพราะมันเป็นเหตุและความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรม น้ำท่วม รถชน โทรศัพท์หาย การรองรับความเสี่ยงในด้านนี้ คือการระมัดระวังเวลาใช้หรือพกทรัพย์สินชนิดนั้นๆ นอกจากการระมัดระวังแล้ว ก็ควรเตรียมเงินสำรองไว้เพื่อการซ่อมบำรุง หากจะดูแลทรัพย์สินอย่างเช่นบ้าน ก็ควรที่จะประกันภัยอัคคีภัยไว้

การใช้จ่ายที่เกินตัว

พฤติกรรมนี้คนส่วนมากจะยังเป็นอยู่ และเป็นพฤติกรรมที่เรียกได้ว่าแก้ได้ยาก เพราะการช็อปปิ้งหรือการใช้เงินแบบเกินอารมณ์ จะเกิดขึ้นอยู่เสมอและจะไม่นึกถึงในอนาคตเลย และเพื่อการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คือการมีสติทุกครั้งที่ใช้จ่าย และควรจะบริหารจัดการเงินไว้เป็นสัดส่วน 

การผิดสัญญาหรือละเมิดสัญญา

การทำธุรกรรมบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำบัตรเครดิต การทำสัญญาซื้อบ้าน ก็จะมีสัญญาผูกมัดกันอยู่แล้ว หากเรามีการผิดสัญญาหรือผิดนัดชำระ ทำให้เกิดการละเมิดสัญญา ก็จะเป็นปัญหาฟ้องร้องกันขึ้นมากได้ หรือแม้กระทั่งการค้ำประกันให้ผู้อื่น คนที่้ำประกันละเมิดสัญญาเราก็ต้องรับผิดชอบด้วย ทางที่ดีควรหีกเลี่ยงการทำธุรกรรมเหล่านี้ หรือประเมินและคาดการณ์ความเสี่ยงก่อนเสมอ

ความเสี่ยงจากกิจกรรม

บางคนมีงานอดิเรกที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นกิจกรรมที่ชอบและทำในยามว่าง โดยส่วนมากหากเป็นกิจกรรมทั่วไปก็ไม่หน้าเป็นห่วงสักเท่าไหร่ แต่หากเป็นกิจกรรมที่ผาดโผนก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของตัวเองได้ กิจกรรมเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงต่อทั้งร่างกายและทรัพย์สิน การลดความเสี่ยงจากกิจกรรมคือ ป้องกันหรือเลี่้ยงการทำกิจกรรมที่ผาดโผน หากเป็นงานอดิเรกที่ชอบจริงๆก็ควรมีการป้องกันที่ดี

รายจ่ายที่ไม่ได้อยู่ในแผน

รายจ่ายที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเราได้เสมอ เราไม่ได้มีการจัดสรรปันส่วนไว้ ก็อาจทำให้เกิดการติดขัดทางการเงินหรือเกิดสภภาพไม่คล่องตัว รายจ่ายที่ไม่อยู่ในแผน ก็จะมีการมีบุตรโดยไม่ได้เตียมการ การทำเงินของบริษัทหายต้องรับใช้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลย เพราะฉะนั้นการลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้อยูในแผน ก็จะเป็นการเก็บเงินหรือมีเงินสำรองไว้เสมอ เมื่อถึงเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงคุณก็จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตัว

เงินที่มีสภาพคล่องคือเงินที่เตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ หรือรายจ่ายสำรองเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน อยู่พื้นที่ที่พร้อมถอนหรือพร้อมใช้จ่ายตลอด เงินสภาพคล่องควรจะเป็น 3-6 % ของรายได้ ไม่ควรที่จะมากหรือน้อยเกินไป

ความเสี่ยงในชีวิตประจำวันเรายังมีอีกมาก และยังสามารถแยกย่อยได้หลายแขนง เพราะฉะนั้นเราไม่ควรที่จะไว้วางใจอะไรได้เลย แต่ไมม่ควรที่จะวิตกหรือจ้องว่าจะเกิดความเสี่ยงตอนไหน และถ้าหากมีการจัดการและการประเมินที่ดี เราก็จะมีความเสี่ยงลดน้อยลงและจะเกิดผลกระทบกับเราน้อยที่สุด