ความเสี่ยงด้านการปฎิบัติงาน เป็นสิ่งสำคัญขององค์กร เพราะการปฎิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ จะทำงานล่าช้าและเกิดความผิดพลาดเป็นที่มาของการเกิดความเสี่ยง ทุกๆองค์จึงจะต้องมีการปฎิบัติงานอย่างชัดเจน และบุคลากรทุกคนในองค์กรจะต้องทราบและเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การปฎิบัติงานขององค์กร 

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน คืออะไร

ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจาก การขาดการดูแลกิจการหรือองค์ที่ดี หรือไม่มีการควบคุมการปฎิบัติงานที่ดี โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการฎิบัติงานภายใน หรือเหตุการณ์ภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้และวัตถุประสงค์ขององค์กร อาจทำให้งานเกิดความล่าช้าอีกด้วย

ปัจจัยของความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

ปัจจัยความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ก็จะเป็นความเสี่ยงที่เกิดความเสียหาย ด้วยทางตรงหรือทางอ้อม ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

ความเสี่ยงที่เกิดจากบุคลากร (People Risk)

  • พนักงานไม่มีศักยภาพมากเพียงพอ
  • พนักงานขาดความรู้ความชำนาญในหน้าที่รับผิดชอบ
  • การตีความข้อมูลในการปฏิบัติงานผิดพลาด
  • ขาดความสามารถนการวิเคราะห์หรือการตัดสินใจ
  • ขาดความสามารถในการทำงานเป็นทีม
  • การละเลยลูกค้าหรือการไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้า
  • การขาดการทำงานแบบมืออาชีพ
  • การทุจริต การกระทำผิดต่อจรรยาบรรณ
  • การใช้ตำแหน่งตนเองเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
  • ความผิดพลาดของพนักงานในการปฏิบัติงาน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาทุจริต
  • ความประมาทและความไม่รอบคอบของบุคลากร
  • ทรัพยากรบุคคลไม่เหมาะสม มีพนักงานมากหรือน้อยเกินไป
  • การด้อยประสิทธิภาพในการจัดหา
  • การมอบหมายงานไม่ตรงตามความสามารถ
  • การขาดการอบรมพนักงาน ให้มีความเชี่ยวชาญหรือพัฒนาความสามรถให้มากขึ้น
  • การขาดเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ เพื่อดึงดูดพนักงานที่มีความสามารให้อยู่กับองค์กร
  • การพึ่งพาพนักงานคนใดคนหนึ่งมากเกินไป
  • ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม
  • ไม่มีอุกรณ์ที่เพียงพอต่อการปฎิบัติงาน
  • อุปกรณ์สภาพไม่ดี ไม่เหมาะต่อการใช้งาน
  • การมีโครงสร้างหรือเทคโนโลยีที่ล้าสมัย

ความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการ (Process Risk)

  • ความบกพร่องของการบริหารองค์กร
  • ความบกพร่องของการวางแผนการใช้โปรแกรมเพื่อการบริหาร
  • ความผิดพลาดในการพัฒนาคำนวณสูตรต่างๆ 
  • การขาดติดตามและรายงานผลที่ไม่ถูกต้อง
  • บริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม
  • การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ไม่สอดคล้องกับทิศทางวิสัยทัศน์ขององค์กร
  • บริการมีความซับซ้อนหรือมีข้อบกพร่อง
  • ความเสี่ยงจากข้อกฎหมาย 
  • การวางแผนปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดการขององค์กร
  • การตีความข้อความสื่อสารที่ผิดพลาด
  • การสื่อสารที่ไม่ทั่วถึงในองค์กร
  • การขาดการประสานงานหรือร่วมมือที่ดีระหว่างฝ่ายในองค์กร
  • ข้อมูลขององค์กรที่เผยแพร่ออกไปไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความไม่หน้าเชื่อถือ
  • การขาดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
  • การขาดการตรวจสอบ การควบคุม และการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ

ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี

  • การขาดการรักษาความปลอดภัยของระบบข้อมูล
  • การขาดมาตรการการควบคุมระบบอย่างสม่ำเสมอ
  • การขาดแผนสำรองฉุกเฉิน
  • ความผิดพลาดเนื่องจากภัยธรรมชาติ
  • ปัญหาด้านไฟฟ้าขัดข้อง
  • การทำลายระบบจากไวรัสคอมพิวเตอร์
  • การขัดข้องของระบบสื่อสาร
  • ข้อมูลสำหรับปฏิบัติงานไม่เพียงพอ

ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ภายนอก

  • ความไม่แน่นอนของนโยบายของรัฐ
  • เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว
  • การขาดแผนรองรับต่างๆ
  • ไม่มีการทำประกันภัยในธุรกรรมที่มีความเสี่ยง

เราจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานมีอยู่มากมายจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่มีความรอบคอบหรือการประเมินความเสี่ยงที่ดี อาจจะทำให้งานล่าช้าหรือไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริกหารและบุคคลากร จะมีการสื่อสารที่ดีหรือทั่วถึงหรือไม่ เพราะส่วนมากความเสี่ยงจะเกิดจากการที่สื่อสารกันน้อยและการไม่เข้าใจแนวทางปฏิบัติ เพราะฉะนั้นการติดต่อประสานงานกันอยู่เสมอจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นมากในองค์กร